โรงเรียน เอกบูรพา วิเทศศึกษา

หลักสูตรการสอน

  • โรงเรียนสุขฤทัย จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรแกนกลางของประเทศ โดยมีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนให้เป็นคนดี มีปัญญา มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนให้สูงขึ้น สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมีความสุข บนพื้นฐานของความเป็นไทย ความเป็นสากล และมีพร้อมกับการศึกษาต่อ ดังนั้นเพื่อให้การจัดการเรียนการสอนของโรงเรียนสุขฤทัย เป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของชาติ และความต้องการของสังคม และชุมชน ทางโรงเรียนจึงดำเนินการจัดหลักสูตรการสอนออกเป็น 2 ระดับ คือ

  • หลักสูตรที่ 1. ระดับปฐมวัย (พุทธศักราช 2546 เด็กอายุ 3-6 ปี)

  • เป็นการจัดในลักษณะของการอบรมเลี้ยงดู และการให้การศึกษาแก่เด็กทุกด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาตามวัยและความสามารถของแต่ละบุคคลเพื่อเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีความสุข

  • หลักการ
    1. เป็นการศึกษาให้ครอบคลุมเด็ก ที่มีอายุระหว่าง 3-6 ปี
    2. เป็นการพัฒนาเด็กโดยยึดหลักการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษา
    3. เป็นการพัฒนาเด็กโดยองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญาผ่านกิจกรรมการเล่นที่เหมาะสมกับวัย วุฒิภาวะ และความแตกต่างระหว่างบุคคล
    4. เป็นการจัดประสบการณ์ที่ให้เด็กสามารถดำรงชีวิตประจำวันได้อย่างมีคุณภาพ และมีความสุข
    5. เป็นการพัฒนาเด็กโดยให้ครอบครัว และชุมชนมีส่วนร่วม
  • จุดมุ่งหมาย
  • เพื่อให้เด็กอายุ 3-6 ปี มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์และคุณลักษณะตามวัยดังต่อไปนี้

    1. มีสุขภาพดี เจริญเติบโตตามวัย และพฤติกรรมอนามัยที่เหมาะสม
    2. ใช้กล้ามเนื้อใหญ่กล้ามเนื้อเล็กได้อย่างคล่องแคล่วและประสานสัมพันธ์กัน
    3. ร่าเริง แจ่มใส และความรู้สึกที่ดีต่อตนเองและผู้อื่น
    4. มีคุณธรรม และจริยธรรม มีวินัยในตนเองและความรับผิดชอบ
    5. ช่วยเหลือตนเองได้เหมาะสมกับสภาพ และวัย
    6. อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุขและเป็นสมาชิกที่ดีต่อสังคมในระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์เป็นประมุข
    7. รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมในท้องถิ่น และความเป็นไทย
    8. ใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้เหมาะสมกับวัย
    9. มีความสามารถในการคิด การแก้ปัญหาได้เหมาะสมกับวัย และมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ
    10. มีจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์
  • และเพื่อให้การจัดการศึกษาสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ทางโรงเรียนสุขฤทัย จึงจัดการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับนโยบายจัดการศึกษาตามแนวข้อกำหนดของชาติเป็นสำคัญ โดยเน้นการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการผู้เรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ สังคม และสติปัญญาควบคู่กันไป โดยเน้นการจัดกิจกรรมตามความสนใจของเด็ก และความพร้อมที่เป็นไปตามวัย ซึ่งกิจกรรมที่เน้นแบ่งเป็น 6 หลักสำคัญ คือ

    1. กิจกรรมเคลื่อนไหว
    2. กิจกรรมสร้างเสริมประสบการณ์
    3. กิจกรรมกลางแจ้ง
    4. กิจกรรมสร้างสรรค์
    5. กิจกรรมเสรี
    6. กิจกรรมเกมการศึกษา
  • แนวทางจัดประสบการณ์
    1. ส่งเสริมพัฒนาการทุกด้านของเด็กโดยองค์รวมอย่างต่อเนื่อง
    2. จัดให้สอดคล้องกับจิตวิทยาพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก
    3. ยึดเด็กเป็นศูนย์กลางสนองความต้องการ ความสนใจ ความแตกต่างระหว่างบุคคล และเปิดโอกาสให้เด็กริเริ่มกิจกรรมของตนเอง โดยครูเป็นผู้สนับสนุนอำนวยความสะดวก และเรียนรู้ร่วมกับเด็ก
    4. จัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้และมีบรรยากาศที่อบอุ่น เพื่อให้เด็กมีความสุข
    5. จัดกิจกรรมในรูปแบบบูรณาการ โดยคำนึงถึงพัฒนาการทุกด้าน
    6. จัดประสบการณ์ตรงให้เด็กเรียนรู้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 มีโอกาสสังเกต สำรวจ เล่น ค้นคว้า ทดลองแก้ปัญหาด้วยตนเอง
    7. จัดให้เด็กมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง เด็กกับวัตถุสิ่งของ เด็กกับเด็ก และ เด็กกับผู้ใหญ่
    8. จัดให้มีความสมดุล มีทั้งกิจกรรมให้เด็กริเริ่ม และ ครูริเริ่ม กิจกรรมในห้องเรียน และนอกห้องเรียนกิจกรรมที่ต้องเคลื่อนไหวและสงบ
    9. จัดให้เด็กได้เรียนรู้ผ่านการเล่น ที่หลากหลายทั้งรายบุคคล กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่
    10. จัดให้เด็กได้รับการพัฒนาโดยให้ความสำคัญกับกระบวนการมากกว่าผลผลิต
    11. จัดให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม วัฒนธรรมท้องถิ่น และเอื้อต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
    12. จัดกิจกรรมให้เด็กมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อตนเอง ต่อส่วนรวม รักธรรมชาติ และรักท้องถิ่น
    13. จัดให้เด็กมีส่วนร่วมในการวางแผน ลงมือปฏิบัติ และบอกผลการปฏิบัติกิจกรรมของตนเอง และผู้อื่นได้
    14. จัดการประเมินพัฒนาการให้เป็นกระบวนการอย่างต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของการจัดประสบการณ์
    15. เปิดโอกาสให้ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาเด็ก
  • กิจกรรมประจำวัน
  • การจัดประสบการณ์สำหรับเด็กอายุ 3-6 ปี จะไม่จัดเป็นรายวิชา แต่จัดในรูปของกิจกรรมบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กได้รับประสบการณ์ตรง เกิดจากการเรียนรู้ได้พัฒนาทั้งร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา การเลือกกิจกรรมที่นำมาจัดในแต่ละวันจึงต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้คือ

    • 1
      การพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่
      เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อใหญ่ การเคลื่อนไหว และความคล่องแคล่วในการใช้อวัยวะต่างๆ จึงควรจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระกลางแจ้ง เล่นเครื่องเล่นสนาม เคลื่อนไหวร่างกายตามจังหวะดนตรี ฯลฯ
    • 2
      การพัฒนากล้ามเนื้อเล็ก
      เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเล็ก การประสานสัมพันธ์ระหว่างมือ และตา จึงจัดกิจกรรมโดยให้เด็กได้เล่นเครื่องเล่นสัมผัส เล่นเกมส์ต่อภาพ ฝึกช่วยตนเองในการแต่งกาย หยิบจับช้อนส้อม ใช้อุปกรณ์ศิลปะ เช่น สีเทียน กรรไกร พู่กัน ดินเหนียว ฯลฯ
    • 3
      การส่งเสริมสร้างสรรค์
      เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ได้ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึก และเห็นความสวยงามของสิ่งต่างๆ รอบตัว อาจจัดกิจกรรมโดยใช้ศิลปะเป็นสื่อ ใช้การเคลื่อนไหว และจังหวะตามจินตนาการ ให้ประดิษฐ์สิ่งต่างๆ อย่างอิสระตามความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ของเด็ก เล่นบทบาทสมมติในมุมเล่นต่างๆ เล่นน้ำ เล่นทราย เล่นไม้บล็อกฯลฯ
    • 4
      การพัฒนาการคิด
      เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอด สังเกต จำแนก เปรียบเทียบ จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับเหตุการณ์ แก้ปัญหา จึงจัดกิจกรรมให้เด็กได้สนทนาอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เชิญวิทยากรจากภายนอกมาพูดคุยกับเด็ก ค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ ทดลอง ทัศน์ศึกษา ประกอบอาหาร หรือจัดให้เด็กได้เล่นเกมส์การศึกษาที่เหมาะสมกับวัยอย่างหลากหลาย ฝึกการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันและในการทำกิจกรรมทั้งที่เป็นกลุ่มย่อย กลุ่มใหญ่ หรือรายบุคคล
    • 5
      การส่งเสริมให้เด็กได้เลือกและตัดสินใจ
      เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสตัดสินใจเลือกเล่น หรือทำกิจกรรมอย่างเสรีตามความสนใจ และความต้องการของตนเอง จึงจัดกิจกรรมให้เด็กได้เล่นตามมุมประสบการณ์ หรือศูนย์การเรียนต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกห้องเรียน
    • 6
      จัดการประเมินอย่างเป็นระบบ
      มีการวางแผนการเลือกใช้เครื่องมือและการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
  • นอกจากนี้ โรงเรียนสุขฤทัย ยังจัดกิจกรรมเสริมพิเศษ อาทิ คอมพิวเตอร์ ดนตรี ว่ายน้ำ นาฎศิลป์ ให้นักเรียนระดับก่อนประถมศึกษา โดยบรรจุอยู่ในหลักสูตรและตารางสอนประจำสัปดาห์ ทั้งนี้ทางโรงเรียนสุขฤทัย ได้จัดการเรียนการสอนเป็น 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรสามัญ และหลักสูตรที่เพิ่มภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นสื่อการสอน ซึ่งทั้งสองหลักสูตรมีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมือนกัน คือ ผ่านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนในด้านต่าง ๆ ยกเว้นหลักสูตรเพิ่มภาษาอังกฤษภาษาจีเป็นสื่อการสอน จะเน้นการสอนโดยใช้ครูเจ้าของภาษาเป็นหลักและเพิ่มจำนวนเวลาเรียนภาษาจีนเพื่อการพูด โดยเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 1 และ อนุบาล 3

  • การพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัย โรงเรียนสุขฤทัย
  • โรงเรียนสุขฤทัย จัดหลักสูตรการเรียนการสอนระดับปฐมวัย โดยมุ่งเน้นการจัดการเรียนรู้แนวบูรณาการเป็นหน่วยการเรียนให้เหมาะสมกับสภาพของชุมชน และเหมาะสมกับวัยของผู้เรียน ซึ่งการจัดกิจกรรมการเรียนรู้จะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Child-Centered)ตามหลักการทำงานของสมอง โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตรระดับปฐมวัยของ โรงเรียนสุขฤทัย ดังต่อไปนี้

    1. ศึกษาพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติปี พ.ศ. 2542
    2. ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรระดับปฐมวัยปี พ.ศ. 2546
    3. สำรวจความต้องการ และความพึงพอใจในการจัดการศึกษาของผู้ปกครองและชุมชน
    4. นำปรัชญาของโรงเรียนมาสอดแทรกด้านวิชาการ ด้านคุณธรรม จริยธรรม
    5. จัดทำปฏิทินกำหนดการสอนตลอดปีการศึกษาเป็น 2 ภาคเรียน
    6. จัดทำแผนการสอนแบบบูรณาการ โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในการจัดการเรียนการสอน
    7. มีการวิเคราะห์แผนการสอนก่อนทุกครั้ง
    8. ปฏิบัติการสอนแล้วบันทึกพฤติกรรมนักเรียนและผลที่ได้จากการจัดกิจกรรมทุกครั้ง
    9. มีการนิเทศการสอนโดยครูหัวหน้างานปฐมวัย
    10. มีการประเมินผล แบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ ประเมินผลสังเกตการทำกิจกรรมระหว่างเรียน, ประเมินผลโดยการใช้แบบประเมินรายงานพัฒนาภาคเรียนละ 2 ครั้ง
    11. เก็บสะสมผลการเรียนในรูปแบบของคะแนน เปอร์เซ็นต์ ระดับผลการเรียน (เกรด) และไม่มีการจัดลำดับที่
  • แนวการจัดการเรียนการสอนระดับปฐมวัย
  • การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย โรงเรียนได้จัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ (Integrated Instruction) หมายถึง การเรียนรู้ที่เชื่อมโยงศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งเนื้อหาวิชาต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันมาผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้เกิดความรู้และความหมายหลากหลาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงในชีวิตประจำวัน การเรียนการสอนจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการวางแผนการเรียนรู้ ตรงกับความต้องการ ความสนใจ และความถนัดของตนเอง มีโอกาสแสดงออกอย่างอิสระแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นกลุ่มโดยการใช้สิ่งต่าง ๆจากสภาพแวดล้อมจริง เป็นกระบวนการคิดอย่างสร้างสรรค์ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความฉลาดทางอารมณ์ (E.Q) เพื่อพัฒนาให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง มีความสุขตามสภาพความเป็นอยู่ รักและภูมิใจในความเป็นไทย ซึ่งเป็นไปตามแนวนโยบายการจัดการศึกษาของชาติเป็นสำคัญ โรงเรียนสุขฤทัยจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยยึดความสำคัญสูงสุดในกระบวนการปฏิรูปการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพ สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองมีพัฒนาการ ครอบคลุมทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา และรู้จักแสวงหาความรู้ได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดชีวิต โดยมีการจัดระบบการเรียนรู้ดังนี้

    1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความต้องการของผู้เรียน
    2. ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ
    3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รู้จากประสบการณ์จริงโดยการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
    4. มีการคิดวิเคราะห์ด้านเหตุผล และการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามวัย
    5. จัดกิจกรรมการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆอย่างได้สัดส่วนที่สมดุลกัน
    6. ฝึกการเป็นผู้นำ ผู้ตาม การทำงานเป็นกลุ่ม
    7. จัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการสอน อำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
    8. จัดการเรียนให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่โดยใช้แนวการเรียนรู้แบบพหุปัญญาสอดแทรกในกิจกรรมทุกหน่วยการเรียน
    9. คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลเพื่อพัฒนาการผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ
    10. เสริมการเรียนรู้ด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีน
    11. จัดการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยครูต่างชาติเจ้าของภาษา
    12. สำหรับหลักสูตรที่เพิ่มภาษาอังกฤษและภาษาจีนเป็นสื่อการสอน ทางโรงเรียนจัดการเรียนการสอน คิดเป็นอัตราส่วนประมาณ50: 30:20 ระหว่างภาษาไทย ต่อภาษาอังกฤษ ต่อ ภาษาจีน ควบคู่กันไป
  • การวัดผล
    • 1
      การบ้านประจำวัน
      โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทบทวน และฝึกหัดความรับผิดชอบ
    • 2
      การสังเกตพฤติกรรม การเรียนรู้ตามหน่วยการเรียน
      เพื่อสังเกตพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ร่างกาย อารมณ์ สังคม จิตใจ และสติปัญญา
    • 3
      การวัดผลด้านความรู้
      ความเข้าใจตามหน่วยการเรียนรู้
  • การประเมินผล
    • 1
      การตรวจการบ้านประจำวัน
      คุณครูจะตรวจการบ้านเพื่อดูความเข้าใจและความตั้งใจในการทำการบ้าน พร้อมอธิบายเพิ่มเติมในจุดที่นักเรียนไม่เข้าใจ
    • 2
      ประเมินพัฒนาการ
      โดยใช้ระดับคุณภาพจากการสังเกตพฤติกรรม คุณครูจะจดบันทึกพัฒนาการนักเรียน โดยเป็นการบรรยายพฤติกรรมการแสดงออกของนักเรียน
    • 3
      การทดสอบ
      คุณครูจะมีแบบเตรียมความพร้อมตามรายวิชา (คณิตศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ เชาวน์) โดยประเมินผลออกมาเป็นเกรด (4 3 2 1) โดยแบ่งเป็นพุทธิพิสัยร้อยละ 30 และจิตพิสัยร้อยละ 70 การประเมินผลปลายภาค หรือปลายปี ประเมินเก็บสะสมเช่นเดียวกับการประเมินระหว่างเรียน โดยเก็บสะสมในรูปของคะแนน แบ่งสัดส่วนคะแนนสะสม และคะแนนทดสอบในอัตราสวน 70:30 จากนั้นจึงนำคะแนนทั้งสองมารวมกันเป็น 100 คะแนน
  • การประเมินผลกลางภาคและปลายภาค
  • จัดดำเนินการในแบบเดียวกันจากนั้นนำคะแนนของแต่ละวิชามารวมแล้วคิดเป็นคะแนน ร้อยละ (จะไม่มีการจัดลำดับที่ในการสอบแต่ละครั้ง เพื่อเน้นศักยภาพของนักเรียนรายบุคคล มิใช่เป็นการเปรียบเทียบ)

  • หลักสูตรที่ 2. ระดับประถมศึกษา (พุทธศักราช 2551)

  • หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกคน ซึ่งเป็นกำลังของชาติให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมดุลทั้งด้านร่างกาย ความรู้ คุณธรรม มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและเป็นพลโลก ยึดมั่นในการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีความรู้และทักษะพื้นฐาน รวมทั้ง เจตคติ ที่จำเป็นต่อการศึกษาต่อ การประกอบอาชีพและการศึกษาตลอดชีวิต โดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญบนพื้นฐานความเชื่อว่า ทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ

  • หลักการ
    1. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อความเป็นเอกภาพของชาติมีจุดหมายและมาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำหรับพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณธรรมบนพื้นฐานของความเป็นไทยควบคู่กับความเป็นสากล
    2. เป็นหลักสูตรการศึกษาเพื่อปวงชน ที่ประชาชนทุกคนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างเสมอภาค และมีคุณภาพ
    3. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่สนองการกระจายอำนาจให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของท้องถิ่น
    4. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นทั้งด้านสาระการเรียนรู้ เวลาและการจัดการเรียนรู้
    5. เป็นหลักสูตรการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
    6. เป็นหลักสูตรการศึกษาสำหรับการศึกษาในระบนอกระบบ และตามอัธยาศัย ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมาย สามารถเทียบโอนผลการเรียนรู้ และประสบการณ์
  • จุดหมาย
    1. มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นคุณค่าของตนเอง มีวินัยและปฏิบัติตนตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    2. มีความรู้ ความสามารถในการสื่อสาร การคิด การแก้ปัญหา การใช้เทคโนโลยี และมีทักษะชีวิต
    3. มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี มีสุขนิสัย และรักการออกกำลังกาย
    4. มีความรักชาติ มีจิตสำนึกในความเป็นพลเมืองไทยและพลโลก ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
    5. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม มีจิตสาธารณะที่มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งที่ดีงามในสังคม และอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างมีความสุข
  • สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
    • 1
      ความสามารถในการสื่อสาร
      เป็นความสามารถในการรับและส่งสาร มีวัฒนธรรมในการใช้ภาษาถ่ายทอดความคิด ความรู้ความเข้าใจ ความรู้สึก และทัศนะของตนเองเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารและประสบการณ์อันจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาตนเองและสังคม รวมทั้งการเจรจาต่อรองเพื่อขจัดและลดปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ การเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลข่าวสารด้วยหลักเหตุผลและความถูกต้อง ตลอดจนการเลือกใช้วิธีการสื่อสาร ที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อตนเองและสังคม
    • 2
      ความสามารถในการคิด
      เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม
    • 3
      ความสามารถในการแก้ปัญหา
      เป็นความสามารถในการแก้ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่เผชิญได้อย่างถูกต้องเหมาะสมบนพื้นฐานของหลักเหตุผล คุณธรรมและข้อมูลสารสนเทศ เข้าใจความสัมพันธ์และการเปลี่ยนแปลงของเหตุการณ์ต่าง ๆ ในสังคม แสวงหาความรู้ ประยุกต์ความรู้มาใช้ในการป้องกันและแก้ไขปัญหา และมีการตัดสินใจที่มีประสิทธิภาพโดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
    • 4
      ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
      เป็นความสามารถในการนำกระบวนการต่างๆไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันการเรียนรู้ด้วยตนเอง การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การทำงานและการอยู่ร่วมกันในสังคมด้วยการสร้างเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างบุคคล การจัดการปัญหาและความขัดแย้งต่างๆอย่างเหมาะสม การปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมและสภาพแวดล้อม และการรู้จักหลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่พึงประสงค์ที่ส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น
    • 5
      ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี
      เป็นความสามารถในการเลือก และใช้ เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ และมีทักษะกระบวนการทางเทคโนโลยี เพื่อการพัฒนาตนเองและสังคม ในด้านการเรียนรู้ การสื่อสาร การทำงาน การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ถูกต้อง เหมาะสม และมีคุณธรรม
  • คุณลักษณะอันพึงประสงค์

    1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
    2. ซื่อสัตย์สุจริต
    3. มีวินัย
    4. ใฝ่เรียนรู้
    5. อยู่อย่างพอเพียง
    6. มุ่งมั่นในการทำงาน
    7. รักความเป็นไทย
    8. มีจิตสาธารณะ
  • มาตรฐานการเรียนรู้
  • การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความสมดุล ต้องคำนึงถึงหลักพัฒนาการทางสมองและพหุปัญญา หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดให้ผู้เรียนเรียนรู้ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ดังนี้

    1. ภาษาไทย
    2. คณิตศาสตร์
    3. วิทยาศาสตร์
    4. สังคมศึกษา
    5. ศาสนา และ วัฒนธรรม
    6. สุขศึกษา และ พลศึกษา
    7. ศิลปะ
    8. การงานอาชีพ และ เทคโนโลยี
    9. ภาษาต่างประเทศ
  • เพื่อให้การจัดการศึกษาเป็นไปตามหลักการ จุดมุ่งหมาย และมาตรฐานการเรียนรู้ ทางโรงเรียนสุขฤทัยจึงจัดหลักสูตรระดับประถมศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช2551ที่มุ่งเน้นพัฒนาคุณภา ผู้เรียนด้านความรู้ เกิดทักษะ มีความคิดที่เป็นกระบวนการชัดเจน มีคุณธรรม จริยธรรม และมีค่านิยมที่ดี อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยการจัดการเรียนการสอนเป็น 8 สาระการเรียนรู้ คือ

    1. ภาษาไทย
    2. คณิตศาสตร์
    3. วิทยาศาสตร์
    4. สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
    5. สุขศึกษาและพลศึกษา
    6. ศิลปะ
    7. การงานอาชีพและเทคโนโลยี
    8. ภาษาต่างประเทศ
  • รวมทั้งยังมีการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนผ่านทางกิจกรรมต่าง ๆ และสอนเพิ่มเติมในรายวิชา เช่น ภาษาอังกฤษภาษาจีน สอนซ่อมเสริม ชุมนุม การแนะแนว เป็นต้น โดยสาระการเรียนรู้ที่จัดขึ้นนี้ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ของนักเรียนทุกคน สร้างพื้นฐานทางความคิด พื้นฐานความเป็นมนุษย์ และการทำงานอย่างสร้างสรรค์ โดยเปิดสอน 2 หลักสูตรคือ

  • 1. Me- C Program(Math English and Chinese Program)
  • เพื่อเสริมทักษะด้าน กระบวนการคิดด้วยวิชาคณิตศาสตร์แบบญี่ปุ่น การสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษและภาษาจีนโดยมีจุดเน้นดังนี้

    • 1
      Mathematices
      พัฒนาระบบการคิดของนักเรียนผ่านการเรียนวิชาคณิตศาสตร์แบบญี่ปุ่น
    • 2
      English
      เน้นฝึก 4 ทักษะคือ การฟัง-นร.ฝึกกับครูเจ้าของภาษา, การพูด-นร.โต้ตอบกับครูเจ้าของภาษา, การอ่าน-นร.รู้หลักการอ่านตามโฟนิก และ การเขียน-นร.เขียนคำศัพท์ Essay อย่างง่าย
    • 3
      Chineses
      เน้นการรับ-ส่งสารพื้นฐาน โดย การฟัง-พูด กับครูคนจีนโดยตรง, การอ่าน- รู้หลักการอ่านระบบพินอิน, การเขียน- ตามหลักลำดับขีดของตัวหนังสือจีนพื้นฐาน
  • โดยเพิ่มเวลาการสอนวิชาคณิตศาสตร์ วิชาภาษาอังกฤษ วิชาภาษาจีน สัปดาห์ละ 5-6 คาบ โดยครูชาวต่างชาติเจ้าของภาษา และเสริมพิเศษด้วยครูไทยที่ชำนาญด้านภาษาอีก 1 คาบ ซึ่งลักษณะการเรียนจะสอนด้วยภาษาไทยในแต่ละสาระการเรียนรู้ จึงเป็นหลักสูตรที่เหมาะสำหรับบุตรหลานที่ผู้ปกครองต้องการส่งเสริมให้ได้ศึกษาต่อระดับมัธยมสูงขึ้นไป

  • 2. CEC Program (Chinese English Creative Thinking)

Information

ปิดหน้าต่าง